วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สพท.กำแพงเพชร เขต 2 จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ระยะ 3ปี)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระยะ 3 ปีการศึกษา (2552 - 2554) โดยมีสาระรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงาน ดังนี้
ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2552 พัฒนาโรงเรียนในสังกัดทั้งรัฐและเอกชน ให้มีมาตรฐานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2553 พัฒนาโรงเรียนในสังกัดทั้งรัฐและเอกชน ให้มีมาตรฐานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
ระยะที่ 3 ปีการศึกษา 2554 พัฒนาโรงเรียนในสังกัดทั้งรัฐและเอกชน ให้มีมาตรฐานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

สรุปภาพรวม เมื่อครบ 3 ปีการศึกษา (2552 - 2554) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จะมีโรงเรียนที่มีมาตรฐานการดำเนินงานครบ 100 เปอร์เซ็น หรือครบทุกโรงเรียน รายละเอียดแผนงานดูได้ที่นี่

สาระความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

รวบรวมสาระความรู้ เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่โรงเรียนสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาทำความเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ตามความต้องการ ดังนี้
1.กรอบแนวคิด/ความเข้าใจเบื้องต้น/แนวทางการทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คลิกที่นี่ และ ที่นี่ และที่นี่
2.การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คลิกที่นี่
3.การสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง คลิกที่นี่
4.ตัวอย่างการประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง คลิกที่นี่
5.เติมกำลังใจให้ครูสู่มืออาชีพ คลิกที่นี่
6.การศึกษานักเรียนเป็นรายกรณี คลิกที่นี่
7.รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คลิกที่นี่
8.หลักสูตรครูแนะแนว คลิกที่นี่
9.หัวใจกับ YC คลิกที่นี่
10.แบบทดสอบทางจิตวิทยา คลิกที่นี่
11.คู่มือจัด ClassRoomMeeting คลิกที่นี่
12.ตัวอย่าง การดำเนินงานระบบการดูแลและแบบทำงานขั้นตอนต่างๆ กรณีโรงเรียน บ้านตาจ่อยหนองสระ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด คลิกที่นี่ และที่นี่
13.ตัวอย่าง แบบรายงานผลการคัดกรองนักเรียน คลิกที่นี่
14.แนวทางการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน
ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คลิกที่นี้
15.ตัวอย่าง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสองคอนวิทยาคม คลิกที่นี่
16.แนวทางการดำเนินงานระบบบดูแลฯ ในสถานศึกษา คลิกที่นี่
17.แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลฯ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา คลิกที่นี่
18.แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลฯ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก คลิกที่นี่
19. (ร่าง) มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉบับใช้ปัจจุบัน สำคัญ) คลิกที่นี่
20. แนวทางการประเมินสถานศึกษาตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (สำคัญ) คลิกที่นี่
21.ตัวอย่าง แบบการทำ Case Study กรณีโรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์ จังหวัดกระบี่
คลิกที่นี่
22. ตัวอย่าง แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน กรณีโรงเรียนสมุทรพิทยาคม คลิกที่นี่
23.คู่มือสนับสนุนการดำเนินงานคู่เครือข่ายการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คลิกที่นี่ (ส่วนหน้า) และที่นี่ (ส่วนหลัง)

หากมีเอกสารอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ จะนำมาเผยแพร่ให้โรงเรียนได้ทราบเรื่อยๆ ครับ

ตัวอย่างการรายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับโรงเรียนรายงานให้เขตพื้นที่การศึกษา

ตัวอย่างการรายงานรายงานผลดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สำหรับโรงเรียนใช้รายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

ประเด็นการออกติดตามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งที่ 2

สพท.กำแพงเพชร เขต 2 มีกำหนดออกติดตามผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเป็นครั้งที่ 2 ประจำภาคเรียนที่ 2/2551 ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา 19 ศูนย์เครือข่าย ระหว่างวันที่ 16 - 20 มีนาคม 2552 โดยใช้ประเด็นหลักในการติดตาม ดังนี้
๑. ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทำได้แค่ไหน ทำอย่างไร สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร แล้วมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
๒. ความสำเร็จในการส่งเสริม พัฒนานักเรียนกลุ่มปกติ โรงเรียนได้ดำเนินการกิจกรรม/โครงการอะไรบ้าง นักเรียนมีความพึงพอใจแค่ไหน จุดไหนควรพัฒนาต่อ จุดไหนควรปรับปรุง
แนวทางการการพัฒนาปรับปรุงอย่างไร
๓. ความสำเร็จในการป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ ของโรงเรียนมีแค่ไหน วัดจากตัวเลขการคัดกรองที่ได้ทำไว้ สำเร็จแค่ไหน ไม่สำเร็จเพราะอะไร และโรงเรียนมีแนวทางปรับปรุงการทำงานอย่างไร
๔. โรงเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานแก่ชุมชนรับทราบหรือไม่ อย่างไร
๕. โรงเรียนได้จัดการมีการนิเทศภายในหรือไม่อย่างไร
๖. โรงเรียนได้มีการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามกลุ่มสาระอย่างไรบ้าง
๗. ผลงานที่เด่น หรือผลงานที่ภาคภูมิใจ หรือนวัตกรรมที่โรงเรียนอยากนำเสนอ

รายงานสรุปผลการออกติดตามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งที่ 1

สรุปรายงานผลการออกนิเทศติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
ครั้งที่ ๑ ประจำภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๑
ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกศูนย์ เครือข่าย (๑๙ ศูนย์เครือข่าย)
--------------------------------------

๑. หลักการและเหตุผล
ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศให้ปีการศึกษา 2551 เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยกำหนดนโยบายให้โรงเรียนทุกแห่งในสังกัด นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไปดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง เป็นระบบ มีคุณภาพสามารถตรวจสอบได้ และให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่ ๑ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติประเด็นหลักที่ ๓ การส่งเสริมความเข้มแข็งการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นั้น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการนำนโยบายดังกล่าวมาขับเคลื่อนให้สัมฤทธิ์ผลให้มากที่สุด โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการ ทีมพัฒนาระบบฯ ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริม ให้โรงเรียนนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง เป็นระบบและมีคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการทีมพัฒนาระบบฯ ประจำเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำปฏิบัติปฏิบัติงาน และออกนิเทศ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ครั้งที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๑ ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๒ ทุกศูนย์เครือข่าย ระหว่างวันที่ ๙, ๑๐, ๑๑, ๒๑, ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑

๒.รูปแบบการออกนิเทศ ติดตามฯ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการฯ จำนวน ๒ คณะ (ทีมทำ หรือทีมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน) เพื่อออกนิเทศติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของทุกโรงเรียนในสังกัด ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกศูนย์เครือข่าย ในวันที่ ๙, ๑๐, ๑๑, ๒๑, ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โรงเรียนทุกโรงเรียนนำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผ่านโปรแกรม PowerPoint พร้อมเอกสารประกอบ แสดงกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เป็นปัจจุบัน และเอกสารสรุปผลความคืบหน้าการดำเนินงาน ต่อคณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ ณ ศูนย์เครือข่ายที่โรงเรียนสังกัดอยู่ โรงเรียนละ ๑๐ – ๑๕ นาที


๓.วัตถุประสงค์หลัก
๑. เพื่อแสดงเจตจำนงในการสร้างความเข้าอันดี และให้โรงเรียนได้ตระหนักรู้ถึง ความจำเป็น และความสำคัญเร่งด่วนในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือให้เข้มแข็ง มีคุณภาพ อันจะส่งผลทำให้โรงเรียนดำเนินงานบนพื้นฐานความเข้าใจ ต่อเนื่อง และยั่งยืน
๒. เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนทุกแห่งได้มีโอกาสทบทวนงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันกับโรงเรียนอื่นๆ ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๓. เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง กับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ครบถ้วนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตามจุดมุ่งหมายของกลยุทธ์ของ สพฐ. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑
๔. เพื่อให้โรงเรียนได้ซักถาม และปรึกษาหารือในประเด็นที่เป็นปัญหาและอุปสรรค หรือไขข้อข้องใจในการดำเนินงาน กับคณะกรรมการทีมวิทยากรพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ
๕. เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนางานที่สำนักงานเขตพื้นที่จะดำเนินงานต่อไปในภาคเรียนที่ ๒

๔. คณะกรรมการทีมออกนิเทศติดตามความคืบหน้าระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย รอง ผอ.สพท.กำแพงเพชร เขต ๒ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริม การจัดการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ครู โดยได้แบ่งสายออกนิเทศติดตามฯ เป็น ๒ ชุด ดังนี้
กรรมการชุดที่ 1
1. นางสาวจุฑารัตน์ ตระกูลชัย รอง ผอ.สพท.กำแพงเพชร เขต 2
2. นางสนาม ปานชื่น หน.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
3. นางสาวธนาพร เท่าเทียมตน ศึกษานิเทศก์
4. นายสมศักดิ์ สิงห์เผ่น ครูโรงเรียนขาณุวิทยา
5. นายประสิทธิ์ สืบวงษ์รอด ครูโรงเรียนอนุบาลวังไทร
6. นางชุลีรัตน์ ทองมี ครูโรงเรียนบ้านหินดาตราษฎร์บำรุง
7. นายถวัลย์ จันทร์ต้น ครูโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
8. นางนงลักษณ์ นุสนธิ์ ครูโรงเรียนวัดอุเบกขาราม
ทำหน้าที่นิเทศติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้ โค้งไผ่หามแห สลกบาตร ขาณุวรลักษณ์ วชิรราษฏร์ วชิรธรรม วังแขมวังยาง ทรายทองวัฒนา ปางศิลา คลองลานพัฒนา

กรรมการชุดที่ 2
1. นายสิทธิพงษ์ พิรุณ รอง ผอ.สพท.กำแพงเพชร เขต 2
2. นายเฉลิมชัย เพ็งศิริ ผอ.โรงเรียนอนุบาลวังไทร
3. นางบรรเจิด ทองนวม ครูโรงเรียนอนุบาลวังไทร
4. นางอำพันธ์ รอบุญ ครูโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์
5. นางสาวสุพิตรา มั่นเขตวิทย์ ครูโรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
6. นางวัชรี ไชยศรีย์ ครูโรงเรียนวัดอุเบกขาราม
7. นายวิชิต ผาสุขจิตร นักวิชาการศึกษา 6ว. สพท.กำแพงเพชร เขต 2
ทำหน้าที่นิเทศติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้ ปางมะค่า บ้านไร่ดอนแตง กัลยาณมิตร วังไทร คลองขลุง โพธิ์ทองพัฒนา บึงสามัคคี ระหาน คลองน้ำไหล สักงามโป่งน้ำร้อน

๕. กำหนดการออกนิเทศติดตามฯ ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- คณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ เดินทางถึงศูนย์เครือข่ายฯ
- ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มาพร้อมกัน
- ประธานศูนย์เครือข่ายฯ ต้อนรับ และนำเสนอ/รายงานภาพรวมของศูนย์เครือข่ายฯ
- โรงเรียนนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(สามารถนำเสนอผ่านโปรแกรม PowerPoint ได้) พร้อมเอกสารประกอบ
ต่อคณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ (ใช้เวลาไม่เกินโรงเรียนละ 10 – 15 นาที)
- คณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ ซักถาม เสนอแนะ ตอบข้อหารือ
- คณะกรรมการนิเทศ ติดตามฯ เดินทางกลับ

๖. รายการตรวจสอบความคืบหน้าการดำเนินงาน
คณะกรรมการออกนิเทศติดตามฯ ได้กำหนดรายการตรวจสอบความคืบหน้าการปฏิบัติงานของโรงเรียน ในประเด็นโรงเรียนได้ปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติ และข้อเสนอแนะของกรรมการนิเทศติดตามฯ ตามรายการ ดังนี้
๑. การตระหนัก และเห็นความสำคัญของการดำเนินงาน
๒. การจัดทำแผนงาน/โครงการ
๓. การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินงาน
๔. การบันทึกการประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะ
๕. การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
๖. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
๗. การคัดกรองนักเรียน
๘. การจัดกลุ่มนักเรียนที่ได้รับจากการคัดกรองนักเรียน
๙. แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง ป้องกัน แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ที่สอดคล้องกับกลุ่มนักเรียนที่ได้จากการคัดกรอง
๑๐. รายการอื่นๆ ที่น่าสนใจ ที่โรงเรียนได้ดำเนินการ
๑๑. ข้อคิดเห็น เสนอแนะของกรรมการ

๗. สรุปผลความคืบหน้าตามรายการตรวจสอบ
๗.๑ ความตระหนักและเห็นความสำคัญ : เป็นการตรวจสอบแนวคิดในเบื้องต้น การดำเนินงานของโรงเรียน
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนร้อยละ ๙๐ มีการแสดงออกให้เห็นถึงความสำคัญ ในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเข้าใจในกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงประโยชน์ที่โรงเรียนได้รับจากการดำเนินงาน
๗.๒ การจัดทำแผนงาน/โครงการ : เป็นตรวจสอบการดำเนินงานในขั้นตอนเตรียมการดำเนินงาน ส่วนของทิศทางการดำเนินงานของโรงเรียน
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนมีการจัดทำแผนงาน และโครงการครบ
ทุกโรงเรียน โดยบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน และจัดเป็นปฏิทินปฏิบัติงาน ที่ชัดเจน
๗.๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินงาน :เป็นการตรวจสอบการมอบหมายตัวบุคคล หรือองค์คณะบุคคลหลัก ในการดำเนินงาน
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนมีการมอบหมายตัวบุคคลรับผิดชอบ ในรูปแบบคำสั่งฯ แบ่งงาน และเจ้าของโครงการ ครบทุกโรงเรียน สามารถแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ คณะกรรมการฯ หรือตัวบุคคลที่มาจากบุคลากรของโรงเรียนล้วน ร้อยละ ๖๐ และคณะกรรมการที่ได้จากกรรมการโรงเรียนและบุคลากรอื่นๆ ในชุมชน (ชุมชนมีส่วนร่วม)
ร้อยละ ๔๐
๗.๔ การบันทึกการประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะ : เป็นการตรวจสอบหลักฐาน ร่องรอยการทำงานของกรรมการแต่ละคณะที่โรงเรียนได้แต่งตั้ง
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนที่มีการบันทึกการประชุมของคณะกรรมฯ แต่ละคณะ เพียงร้อยละ ๒
๗.๕ การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน : เป็นการตรวจสอบวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลจากที่ สพฐ. ได้ประกาศให้โรงเรียนทุกแห่งในสังกัด ออกเยี่ยมบ้านพร้อมกัน (สัปดาห์ เยี่ยมบ้านนักเรียน) ช่วงระหว่างวันที่ ๗ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนทุกแห่งตอบสนองนโยบายดังกล่าวระดับดีมาก โรงเรียนที่จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ จำนวนโรงเรียนที่สามารถออกเยี่ยมบ้านนักเรียนครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๘๐
๗.๖ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล : เป็นการตรวจสอบวิธีการ หรือเครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า ร้อยละ ๑๐๐ ใช้วิธีการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ ๘๐ ใช้เครื่องมือ SDQ ร้อยละ๘๐ ใช้กระบวนการอื่นที่หลากหลายรวมกัน (เยี่ยมบ้าน, SDQ,บันทึกสุขภาพ, ระเบียนสะสม,แบบสังเกตพฤติกรรม, แบบสัมภาษณ์, แบบทดสอบ IQ และ EQ, โปรแกรม Student, โปรแกรม Obec Smiss, แบบวัดแววอัจฉริยะ, แบบคักกรองนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนเรียนรู้ ฯลฯ)
๗.๗ การคัดกรองนักเรียน : เป็นการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดนักเรียน เข้าในแต่ละกลุ่มตามด้านต่างๆ ที่วางไว้ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านการเรียน ฯลฯ
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียนคัดกรองนักเรียนตามด้านที่ สพท. ได้แนะนำไว้ (ตัวเลขผลการคัดกรองนักเรียนรายโรงเรียน อยู่ระหว่างการสรุปเป็นภาพรวมของ สพท.)
๗.๘ นักเรียนการจัดกลุ่มนักเรียนที่ได้รับจากการคัดกรองนักเรียน : เป็นการตรวจสอบกระบวนการทำงานในด้านการจัดกลุ่มนักเรียนที่ได้จากการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล ผ่านเครื่องมือรู้จักที่หลากหลาย ออกเป็นกลุ่มๆ ตามด้านที่ตั้งไว้ เช่น กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กลุ่มปกติ ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อสะดวกในการจัดกิจกรรมช่วยเหลือต่อไป
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนร้อยละ ๑๐๐ มีการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา บางแห่งมีการใช้ชื่อกลุ่มที่แตกต่างออกไป เช่น กลุ่มสดใส (ปกติ) กลุ่มห่วงใย (เสี่ยง) กลุ่มใส่ใจ (มีปัญหา) และ ศิษย์รัก (กลุ่มมีปัญหา) ศิษย์ห่วง (กลุ่มเสี่ยง) ศิษย์หวง (กลุ่มปกติ)
๗.๙ แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง ป้องกัน แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับกลุ่มนักเรียนที่ได้จากการคัดกรอง : เป็นการตรวจแนวคิด แนวทางการจัด กระบวน/วิธีการแก้ปัญหา ในรูปกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง ป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องตามกลุ่มที่ได้แบ่งไว้
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนมีแนวทางการจัดกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง ป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือนักเรียนใน ๒ ลักษณะ คือ ร้อยละ ๙๗ ใช้กิจกรรมที่จัดทำไว้แล้วตั้งแต่ต้นปีการศึกษา หรือก่อนการคัดกรองนักเรียนมาสังเคราะห์ใช้ ร้อยละ ๓ คิดกิจกรรมหรือโครงการใหม่ ตามกลุ่มนักเรียนที่ได้คัดกรอง
๗.๑๐ รายการอื่นๆ ที่น่าสนใจ ที่โรงเรียนได้ดำเนินการ : เป็นการตรวจสอบรายละเอียดอื่นๆ ที่น่าสนใจที่โรงเรียนได้ดำเนินการ และที่กรรมการแต่ละคนได้บันทึกไว้
คณะออกนิเทศ ติดตามฯ พบว่า โรงเรียนได้มีการดำเนินกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้
๗.๑๐.๑ เด็กพิการเรียนร่วม
๗.๑๐.๒ การเยี่ยมบ้านร้อยเปอร์เซ็น
๗.๑๐.๓ การจัดทำ MOU ระหว่าง ผอ.โรงเรียนกับครู
๗.๑๐.๔ ใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูล
๗.๑๐.๕ กิจกรรมทำบุญทุกวันเพ็ญ (วันพระ)
๗.๑๐.๖ กิจกรรมสมุดออกทรัพย์
๗.๑๐.๗ จัดสภานักเรียนช่วยครูดูแลเพื่อนนักเรียน
๗.๑๐.๘ การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะราย IEP
๗.๑๐.๙ จัดทำประกันอุบัติเหตุนักเรียน
๗.๑๐.๑๐ การสอนเสริม สอนซ่อม
๗.๑๐.๑๑ การทำวิจัยในชั้นเรียน
๗.๑๑.๑๒ การจัดทำวิจัยการบริหารงานตามรอยพระยุคลบาท
๗.๑๑.๑๓ กิจกรรมพานักเรียนออกบำเพ็ญประโยชน์
๗.๑๑.๑๔ จัดบ้านพักเรือนนอน
๗.๑๑.๑๕ โครงการน้ำเต้าหู้ช่วยเหลือเด็กยากจน
๗.๑๑.๑๖ โครงการน้องไหว้พี่
๗.๑๑.๑๗ ครูท้องถิ่นสอนดนตรีไทย
๗.๑๑.๑๘ ขนมท้องม้วนหารายได้ช่วยเหลือนักเรียน
๗.๑๑.๑๙ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
๗.๑๑.๒๐ กิจกรรมปลูกมันสำปะหลังน้ำหยด
๗.๑๑.๒๑ จักรยานยืมเรียน
๗.๑๑.๒๒ ทอพรมเช็ดเท้า
๗.๑๑.๒๓ แจกเสื้อผ้ามือสองของครูให้กับนักเรียน
๗.๑๑.๒๔ ศูนย์เพื่อนใจวันรุ่น
๗.๑๑.๒๕ เครือข่ายผู้ปกครอง
๗.๑๑.๒๖ กรรมการโรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีส่วนร่วมในการคัดกรองนักเรียน
๗.๑๑.๒๗ คู่มือพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๗.๑๑.๒๘ คู่มือครูในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๗.๑๑.๒๙ TO BE NUMBER ONE
๗.๑๑.๓๐ โครงการนักเรียนวัยใสใส่ใจสุขภาพ
๗.๑๑.๓๑ ประกวดดนตรีนักเรียน
๗.๑๑.๓๒ โรงพยาบาลร่วมโรงเรียนคัดกรองนักเรียน
๗.๑๑.๓๓ กิจกรรมคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ
๗.๑๑.๓๔ การคัดกรองซ้ำเพื่อผลที่แม่นยำ
๗.๑๑.๓๕ การจัดครูและนักเรียนออกเป็นกลุ่มหมู่บ้าน
๗.๑๑.๓๖ กิจกรรมโฮมรูม
๗.๑๑.๓๗ การจัดชุมนุมตามความต้องการของนักเรียน
๗.๑๑.๓๘ คาราโอเกะฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก
๗.๑๑.๓๙ โครงการธนาคารความดี/สมุดบันทึกความดี
๗.๑๑.๔๐ โครงการศิษย์ลูก
๗.๑๑.๔๑ ตาราง ๙ ช่องฝึกสมาธินักเรียน
๗.๑๑.๔๒ ตั้งบริษัทนักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน
๗.๑๑.๔๓ กิจกรรมนักเรียนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
๗.๑๑.๔๔ โครงการตำรวจให้ความรู้ด้านยาเสพติดในโรงเรียน D.A.R.E
๗.๑๑.๔๕ โครงการปลูกผักกางมุ้ง
๗.๑๑.๔๖ โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
๗.๑๑.๔๗ โครงการอาหารกลางวันร้อยเปอร์เซ็น
๗.๑๑.๔๘ โครงการพ่อแม่ครู
๗.๑๑.๔๙ โครงการอ่านทุกวัน ขยันทุกคืน
๗.๑๑.๕๐ โครงการโรงเรียน อบต.แก้ปัญหานักเรียน
๗.๑๑.๕๑ การส่งต่อนักเรียนไปศึกษายังโรงเรียนเฉพาะทาง
๗.๑๑.๕๒ โปรแกรมทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบทุกขั้นตอน
๗.๑๑.๕๓ โครงการทุนการศึกษา

๘. สรุปรายชื่อโรงเรียนที่ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นตัวอย่างได้
คณะกรรมการออกนิเทศฯ ได้คัดเลือกโรงเรียนที่ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นระบบ มีกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความเข้าใจในระบบฯ พร้อมผู้บริหารเป็นผู้นำ ในการดำเนินงาน แยกเป็นระดับ ดังนี้
๘.๑ ระดับประถมศึกษา
๘.๑.๑ โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์
๘.๑.๒ โรงเรียนบ้านวังหัวแหวน
๘.๑.๓ โรงเรียนบ้านวังหามแห
๘.๑.๔ โรงเรียนบ้านหัวรัง
๘.๑.๕ โรงเรียนอุทิศศึกษา (เอกชน)
๘.๑.๖ โรงเรียนวัดหนองเหมือด
๘.๑.๗ โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
๘.๑.๘ โรงเรียนบ้านเกาะฝ้าย
๘.๑.๙ โรงเรียนบ้านหัวเสลา
๘.๑.๑๐ โรงเรียนวัชรสหศึกษา (เอกชน)
๘.๑.๑๑ โรงเรียนบ้านหนองจอก
๘.๑.๑๒ โรงเรียนวัดคลองเจริญ
๘.๑.๑๓ โรงเรียนบ้านคลองแขยง
๘.๑.๑๔ โรงเรียนบ้านทุ่งหันตรา
๘.๑.๑๕ โรงเรียนมิตรอารีวิทยาสิน (เอกชน)
๘.๑.๑๖ โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน
๘.๑.๑๗ โรงเรียนบ้านพรมมาสามัคคี
๘.๑.๑๘ โรงเรียนบ้านวังน้ำแดง
๘.๑.๑๙ โรงเรียนบ้านคลองสะพานช้าง
๘.๑.๒๐ โรงเรียนบ้านห้วยแก้วสามัคคีธรรม
๘.๑.๒๑ โรงเรียนบ้านหนองโมก
๘.๑.๒๒ โรงเรียนบ้านหนองปรือประชาสรรค์
๘.๑.๒๓ โรงเรียนอนุบาลวังไทร
๘.๑.๒๔ โรงเรียนบ้านห้วยน้อย
๘.๑.๒๕ โรงเรียนพิบูลพิทยาคาร
๘.๑.๒๖ โรงเรียนบ้านโพธิ์ทอง
๘.๑.๒๗ โรงเรียนอนุบาลคลองลาน
๘.๑.๒๘ โรงเรียนบ้านท่าช้าง
๘.๑.๒๙ โรงเรียนบ้านกระบวยทอง
๘.๑.๓๐ โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์
๘.๑.๓๑ โรงเรียนบ้านโนนพลวง
๘.๑.๓๒ โรงเรียนบ้านระหานประชาศึกษา
๘.๑.๓๓ โรงเรียนบ้านหนอคล้าพงษ์ทอง

๘.๒ ระดับขยายโอกาสทางการศึกษา
๘.๒.๑ โรงเรียนบ้านหนองชะแอน
๘.๒.๒ โรงเรียนบ้านวังบัว
๘.๒.๓ โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง
๘.๒.๔ โรงเรียนบ้านอุดมทรัพย์
๘.๒.๕ โรงเรียนบ้านหินดาตราษฎร์บำรุง
๘.๒.๖ โรงเรียนบ้านคลองลึก
๘.๒.๗ โรงเรียนบ้านโชคชัยพัฒนา
๘.๒.๘ โรงเรียนบ้านถาวรวัฒนา
๘.๒.๙ โรงเรียนบ้านโป่งดู่ประชาอุทิศ
๘.๒.๑๐ โรงเรียนบ้านพัดโบก
๘.๒.๑๑ โรงเรียนบ้านส่องตาแล
๘.๒.๑๒ โรงเรียนบ้านเกาะแก้วอนุสรณ์
๘.๒.๑๓ โรงเรียนวัดอุเบกขาราม
๘.๒.๑๔ โรงเรียนประชารักษ์ศึกษา
๘.๒.๑๕ โรงเรียนวัดพรมประดิษฐ์
๘.๒.๑๖ โรงเรียนบ้านบึงหล่ม
๘.๒.๑๗ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ
๘.๒.๑๘ โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน
๘.๒.๑๙ โรงเรียนบ้านมอสมบูรณ์มิตรภาพที่ ๑๘๙
๘.๒.๒๐ โรงเรียนบ้านสักงามประชาสรรค์
๘.๒.๒๑ โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต
๘.๒.๒๒ โรงเรียนบ้านวังชะโอน

๘.๓ ระดับมัธยมศึกษา
๘.๓.๑ โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์
๘.๓.๒ โรงเรียนวังแขมวิทยาคม
๘.๓.๓ โรงเรียนวังไทรวิทยาคม
๘.๓.๔ โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา
๘.๓.๕ โรงเรียนขาณุวิทยา
๘.๓.๖ โรงเรียนสลกบาตรวิทยา
๘.๓.๗ โรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม
๘.๓.๘ โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
๘.๓.๙ โรงเรียนระหานวิทยา
๘.๓.๑๐ โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
๘.๓.๑๑ โรงเรียนคลองลานวิทยา
๘.๓.๑๒ โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์
๘.๓.๑๓ โรงเรียนสักงามวิทยา

๙. ข้อเสนอแนะของโรงเรียน
๙.๑ ให้มีการออกนิเทศของกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
๙.๒ ให้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน
๙.๓ ให้มีการพัฒนาบุคคลกรดำเนินงานสม่ำเสมอและลึกซึ้งขึ้นในหัวข้อหลัก ดังนี้
๙.๓.๑ ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียน แบบต่างๆ
๙.๓.๒ โปรแกรมประยุกต์ในการคัดกรองนักเรียน SDQ
๙.๓.๓ เทคนิคและวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก
๙.๓.๔ เทคนิคการแนะแนวชีวิต
๙.๓.๕ การสร้างความเข้มแข็งทางใจ
๙.๓.๖ จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น
๙.๓.๗ การเขียนโครงการและการวางแผนงบประมาณ
๙.๓.๘ การสร้างความสัมพันธ์ชุมชน
๙.๓.๙ องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๙.๔ ให้มีการให้รางวัลตอบแทนการตั้งใจในการทำงาน


๑๐. รูปแบบการออกนิเทศฯ ครั้งที่ ๒ ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๑
คณะกรรมการออกนิเทศฯ ได้ตั้งประเด็นในการติดตามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในครั้งที่ ๒ โดยเน้นให้โรงเรียนคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดังนี้
๑๐.๑ ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทำได้แค่ไหน ทำอย่างไร สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร แล้วมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
๑๐.๒ ความสำเร็จในการส่งเสริม พัฒนานักเรียนกลุ่มปกติ โรงเรียนได้ดำเนินการกิจกรรม/โครงการอะไรบ้าง นักเรียนมีความพึงพอใจแค่ไหน จุดไหนควรพัฒนาต่อ จุดไหนควรปรับปรุง
แนวทางการการพัฒนาปรับปรุงอย่างไร
๑๐.๓ ความสำเร็จในการป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ ของโรงเรียนมีแค่ไหน วัดจากตัวเลขการคัดกรองที่ได้ทำไว้ สำเร็จแค่ไหน ไม่สำเร็จเพราะอะไร และโรงเรียนมีแนวทางปรับปรุงการทำงานอย่างไร
๑๐.๔ โรงเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานแก่ชุมชนรับทราบหรือไม่ อย่างไร
๑๐.๕ โรงเรียนได้จัดการมีการนิเทศภายในหรือไม่อย่างไร
๑๐.๖ โรงเรียนได้มีการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามกลุ่มสาระอย่างไรบ้าง
๑๐.๗ ผลงานที่เด่น หรือผลงานที่ภาคภูมิใจ หรือนวัตกรรมที่โรงเรียนอยากนำเสนอ